วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ขุนรองปลัดชู วีรกรรมที่ถูกลืม

                                ขุนรองปลัดชู วีรกรรมที่ถูกลืม
"จะมีใครสักกี่คน บนแผ่นดินนี้ที่ทำสิ่งใด..โดยไม่คิดถึงตัวเองจะมีใครสักกี่คน..ในวันนี้ที่จะยอมตาย..เพื่อแผ่นดินเกิด"

"ขอเตือนใจ...ไว้นะว่า เรากำลังเพื่อลูกหลานเพื่อบ้านเมือง เรากำลังทำเพื่อทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินนี้คิดทำสิ่งใดขอให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง"



กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2302-2303) สมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์พระเจ้าอลองพญาทราบเหตุว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดแผ่นดินจึงได้ยกกองทัพเข้าตีเมืองมะริด และเมืองตะนาวศรี หัวเมืองของกรุงศรีอยุธยา โดยอ้างเหตุว่าให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏมอญ เมื่อยึดได้เมืองมะริดและเมืองตะนาวศรีแล้ว พระเจ้าลองพญาก็ได้เคลื่อนทัพผ่านทางด่านสิงขร เพื่อเข้าตีกรุงศรีอยุธยาต่อไป ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาทราบเรื่อง พระเจ้าเอกทัศน์ได้รับสั่งให้พระยายมราชคุมพลเป็นทัพหน้าออกมาต่อกรกับทัพพม่าที่ด่านสิงขร และให้พระยารัตนาธิเบศเป็นแม่ทัพคุมพลเข้ามาตั้งรับทัพพม่า ที่เมืองกุยบุรี
ขณะนั้น ขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษชัยชาญ เป็นผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือในการรบ และคงกระพันชาตรี เข้ามารับอาสากับไพร่สี่ร้อยคน ขอไปรบกับพม่า ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นกองอาทมาต (หน่วยรบพิเศษ) ร่วมทัพมากับพระยารัตนาธิเบศ
ทัพของพระยายมราช เข้าปะทะกับทัพของพม่าที่เมืองแก่งตุมด้วยกำลังที่น้อยกว่าจึงแตกพ่ายถอยรุ่นไม่เป็นขบวน พระยารัตนาธิเบศตั้งค่ายมั่นอยู่ ณ เมืองกุยบุรี แจ้งว่าทัพพม่ายกพลมาเป็นจำนวนมาก อาจต้านทานไว้ไม่ไหว จึงสั่งการให้เกณฑ์ไพร่พล และเร่งอพยพผู้คนหลบหนีพม่า และหวังรวบรวมผู้คนเพื่อไปตั้งมั่นรับพม่าที่ชานพระนคร ครั้งนั้น ขุนรองปลัดชู ได้อาสาขอต้านทานทัพพม่าด้วยกำลังพลเพียงสี่ร้อยนาย เพื่อยันทัพข้าศึกและเปิดทางให้รี้พลได้หลบหนี พระยารัตนาธิเบศ จึงได้แบ่งไพร่ให้อีกห้าร้อยนายไปช่วยกองกำลังของขุนรองปลัดชู ในการต่อต้านทัพพม่า


ณ ชายหาดหว้าขาวชายทะเล (บ้านทุ่งหมากเม่า ตำบลอ่าวน้อย) เวลาเช้าตรู่ ขุนรองปลัดชูพร้อมกับเหล่าทหาร ตั้งท่ารอทัพพม่าอยู่ด้วยจิตใจห้าวหาญ เมื่อเห็นกองทัพพม่าก็กรูกันออกโจมตีทัพหน้าของพม่ารบกันด้วยอาวุธสั้นถึงตะลุมบอนกัน แทงพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก และตัวขุนรองปลัดชูท่านถือดาบสองมือ วิ่งเข้าท่ามกลางข้าศึก ฟันพม่าล้มตายก่ายกองดั่งขอนไม้ ด้วยกำลังพลเก้าร้อยต่อทัพพม่านับหมื่นที่ยัดเยียดหนุนเนื่องกันเข้ามาต่อรบได้รบกันอยู่ตั้งแต่เข้าจนถึงเวลาเที่ยง ขุนรองปลัดชูไม่คิดถอยหนี ต่อสู้ทัพพม่าจนเหนื่อยอ่อนสิ้นกำลัง ถูกกองทัพพม่าใช้พลทัพช้างขับช้างเข้าเหยียบจนล้มตาย ต่างพากันถอนร่นลงทะเล จนจมน้ำทะเลตายเสียสิ้น กองทัพพม่าจึงมีชัย พระยารัตนาธิเบศจึงได้เร่งเลิกทัพหนีมากับทัพพระยายมราช กลับมาถึงพระนครขึ้นเฝ้ากราบทูลว่า ศึกพม่าเหลือกำลังจึงพ่าย
        ฝ่ายทัพพม่าเมื่อมีชัยเหนือกองทหารเก้าร้อยคน ก็เหนื่อยอ่อนหยุดทัพพักผ่อน ก่อนเดินทัพเข้าเมืองกุย เมืองปราณ เมืองชะอำ เมืองเพชรบุรี เมืองราชรี เมืองสุพรรณบุรี โดยไม่มีหัวเมืองใดต่อรบกับพม่าเลย และต่อมาชาววิเศษชัยชาญ ได้ร่วมกันสร้างวัดสี่ร้อยเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของขุนรองปลัดชู ตราบจนถึงปัจจุบัน
        ในบันทึกของพม่าในกาลต่อมากล่าวว่า การตีกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้น ได้มีการต่อสู้กองทัพของกรุงศรีอยุธยา ที่ช่องเขาแคบๆ ริมทะเลอย่างประจัญบาน ดุเดือด ก่อนเข้าเมืองกุย เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี โดยง่าย
  หากกองทัพกรุงศรีอยุธยา มีคนอย่างขุนรองปลัดชู ไหนเลยเราจะเสียกรุงศรีอยุธยา และหากคนประจวบคีรีขันธ์ ยังไม่รู้จักวีรกรรมที่หาดหว้าขาว ไหนเลยวิญญาณของนักรบไทย จะได้รับการยกย่องความดี ความกล้า ความเสียสละต่อชาติ ต้องไม่ถูกลืม ขอยกย่องวีรกรรมของขุนรองปลัดชู ณ ดินแดนเมืองประจวบคีรีขันธ์    
บันทึกในพงศาวดาร
แผนที่เส้นทางการเดินทัพของกองทัพพม่าในสงครามพระเจ้าอลองพญาเรื่องราวของขุนรองปลัดชูมีกล่าวถึงในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเพียงสั้นๆ ดังนี้ (ในที่นี้เน้นด้วยการขีดเส้นใต้)
 ...ฝ่ายพระเจ้าอยู่หัวได้ตรัสทราบนั้นแล้ว จึงดำรัสให้พระยายมราชเป็นทัพหน้า พลทหาร ๓๐๐๐ ทัพหนึ่ง ให้พระยาธารมาถืออาญาเป็นแม่ทัพ พลทหาร ๒๐๐๐ ยกไปตั้งเมืองกุยบุรี พะม่ายกขึ้นมาตีทัพพระยายมราชณแกงตุมแตก พระยาธารมาจึงเกณฑ์ไพร่ ๕๐๐ เข้าบรรจบกองปลัดชู แล้วให้ยกไปตั้งตำบลอ่าวขาวริมทะเล ฝ่ายทัพหน้าพะม่ายกขึ้นมาตี กองปลัดชูก็แตกพ่าย พระเจ้าอังวะจึงดำเนินทัพเข้ามาณเมืองกุย เมืองปราณ เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี...
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
...ม้าใช้รีบออกไปสืบราชการดู มากราบทูลว่า พม่ายกมาทางมะริด ๑ ทางท่ากระดาน ๑ ทางเชียงใหม่ ๑ ที่จริงนั้นพม่ายกมาแต่ข้าง มะริดทางเดียว พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงทราบแน่ ก็ตกพระทัย ด้วย มิได้มีวิจารณ์พระเชาวญาณ ก็พาลเขลาทรงเชื่อเอาทั้ง ๓ ทาง จึ่ง ดำรัสสั่งให้พระยาพิชัยสงคราม นามชื่อปลัดชู พระจุฬา หลวงศรียศ หลวงราชพิมล ขุนศรีวรคัณฑ์ ๕ คน คุมพล ๕,๐๐๐ ออกไปต้านทานข้างมะริดก่อน แล้วเกณฑ์พระยาราชสงคราม พระยาไชยา พระยามหาเสนา พระยาเพชรพิชัย พระยาสมบัติธิบาล พระยาตะนาว พระยาพัทลุง หลวงกระ ๘ คนนี้คุมพล คนละ ๑,๐๐๐ แล้วให้พระยาอภัยราชาถืออาชญาสิทธิ์เป็นแม่ทัพ ยกไปรับทางเชียงใหม่ แล้วเกณฑ์ทิพเสนา ราชามาตย์ ทิพรักษา ราชาบาล วิสูตโยธามาตย์ ราชโยธาเทพ หลวงศักดิ์ หลวงสิทธิ หลวงฤทธิ หลวงเดช ๑๐ คน คุมพลคนละ ๑,๐๐๐ ให้พระยาอภัยมนตรีเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกไปจุกไว้ทางท่ากระดาน ครั้นทรงทราบว่าทางมะริดพม่ายกมามาก ก็ให้พระยายมราชเป็นแม่ทัพหน้า คุมพล ๒๐๐๐๐ ให้พระยาธรมาถืออาชญาสิทธิ์เป็นแม่ทัพ พลทหาร ๓๐๐๐ ยกเพิ่มเติมไปตั้ง ณ เมืองกุยบุรี พม่ายกขึ้นมาตีทัพพระยายมราช ณ แก่งตุ่มแตก แล้วยกแยกไปตีกองปลัดชู ซึ่งตั้งอยู่ตำบลอ่าวขาวริมทะเล จึ่งแบ่งไพร่ ๕๐๐ ไปช่วยกองปลัดชู รบกันอยู่ประมาณกึ่งวัน กองปลัดชูก็แตกพ่ายมา พระเจ้าอังวะก็ดำเนินทัพเข้ามา ณ แขวงเมืองกุยบุรี เมืองปรานบุรี...
 — พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม

เพลงคนดีไม่วันตาย   


  แม้ไม่มีใครรู้แต่เรารู้รู้ว่าเรานั้น ทำเพื่อใครไม่ว่าวันพรุ่งนี้ มันจะเป็นเช่นไรก็จะไม่เสียใจ กับสิ่งที่เราได้ทำฟ้าและดินไม่เห็น ไม่เป็นไรไม่ได้หวังให้ใครจดจำแม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นซักคำไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมาจะยอมรับโชคชะตา ไม่ว่าดีร้ายไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไปเหลือไว้แต่คุณงามความดีขอเทิดทูนศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใดแม้แต่ลมหายใจ ก็ยอมพลีโลกยังไม่สิ้นหวัง ถ้ายังมั่นในความดีศรัทธาไม่เคยหน่ายหนี คนดีไม่มีวันตาย...